Get Adobe Flash player

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร


icon compe

qu2564t 

face maenaura

 

กองทุนหลักประกันสุขภาพ

ราคาน้ำมันวันนี้

พยากรณ์อากาศ

Login Form

ประวัติตำบลแม่นาเรือ

สารบัญ

ประวัติศาสตร์ตำบลแม่นาเรือ

ตำบลแม่นาเรือมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 900 ปี ปรากฏจากตำนานวัดพระธาตุภูขวาง พ.ศ. 1639 พ่อขุนจอมธรรมได้รับแบ่งราชสมบัติจากพ่อขุนเงินยางผู้เป็นราชบิดากษัตริย์แห่งนครเงินยางเชียงแสนให้มาครอบครองเมืองภูกามยาวซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ เมืองภูกามยาวเป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งมีชื่อเดิมว่าเมือง "สีหราช"เมื่อพ่อขุนจอมธรรมพร้อมด้วยข้าราชบริวาร ได้สร้างปรับปรุง เมืองใหม่ จึงได้สร้างพระธาตุไว้เป็นแจ่งเมืองทั้งสี่ทิศวัดพระธาตุภูขวาง เป็นทิศตะวันตกเฉียงใตของเมืองปัจจุบัน อยู่ในพื้นที่บ้าน บ้านสันป่าสัก หมู่ 6 ตำบลแม่นาเรือ

 

 
       พระธาตุภูขวาง 

     พระประธานวัดพระธาตุภูขวาง              

           นอกจากตำนานวัดพระธาตุภูขวางแล้วในพุทธศตวรรษที่ 21 ยังมีหลักฐานสำคัญที่ปรากฏตามหลักศิลาจามืองรึกเมืองพะเยา ซึ่งพระคุณเจ้าพระธรรมวิมลโมลี ได้เก็บรวมรวมไว้ที่วัดพระเจ้าตนหลวง และจัดจัดพิมพ์ตามหนังสือประชุมจารึกเมืองพะเยา โดยมีจารึกที่ข้นพบในเขตพื้นที่ตำบลแม่นาเรืออยู่หนึ่งหลัก ระบุว่าเป็นจารึกวัดนางหมื่น (สมัยพระยายอดเชียงราย) เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านนา และเจ้าหมื่นจุฬาปกครองเมืองพะเยา ปัจจุบันจารึกนี้ได้ถูกเก็บรักษาและแสดงไว้ ณ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และประกอบกับการสอบถามพ่ออุ้ยแก้วมา ใจบุญ ผู้เฒ่าผู้แก่ในตำบลแม่นาเรือที่มีความรู้เกี่ยวกับประวัติตำบลแม่นาเรือ ได้บอกว่าครั้งหนึ่งเคยมีซากเจดีย์ใหญ่ทรงระฆังคว่ำบริเวณด้านหลังของวัดโบสถ ซึ่งเป็นวัดเดิมของบ้านแม่นาเรือ ก่อนที่จะย้ายมาตั้งอยู่กลางชุมชนที่หมู่ 10 ต่อมาสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีนายยศไม่ทราบนามสกุล เป็นทหารจากปราจีนบุรี มาตั้งค่ายอยู่ที่บริเวณโรงพยาบาลร่องห้า หรือโรงพยาบาลพะเยาในปัจจุบัน ได้มาอยู่กินแต่งานกับคนแม่นาเรือ แล้วได้ลักลอบขุดได้ของมีค่าและพระพุทธรูปขนาดหน้าตักประมาณ 3นิ้ว 1 องค์ และต่อมานายยศ ได้นำพระที่ขุดได้นำไปมอบให้กับเจ้าอาวาสวัดแม่นาเรือและเรียกพระองค์นี้ว่า พระฝนแสนห่า ต่อมาชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณด้านหลังวัดโบสถได้ให้รถเกรดปรับดินให้เป็นที่นาแล้วก็พบหลักศิลาจารึกดังกล่าวโดยบังเอิญ จึงนำมาไว้ที่หน้าวัดโบสถ และต่อมาได้มีคนนำศิลาจารึกดังกล่าวไปไว้ที่วัดพระเจ้าตนหลวง จากหลักฐานดังกล่าวจึงทำให้ทีมงานรู้ว่าบริเวณวัดโบสถเดิมได้เคยเป็นที่ตั้งของวัดนางหมื่น และน่าจะมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณนั้นถึง 200 ตารางเมตร จากการสังเกตซากเจดีย์เก่าแก่ที่เหลืออยู่บริเวณห่างออกจากวัดโบสถไปทางทิศตะวันออกไปประมาณ 250 เมตร ตรงกลางมีเนินดินสูงซึ่งปัจจุบันยังพอสังเกตเห็นได้ ซึ่งบริเวณเนินดินสูงน่าจะเป็นวิหารเดิมและเป็นจุดศูนย์กลางของวัด และบริเวณวัดโบสถน่าจะเป็นบริเวณด้านหลังวัดนางหมื่น เดิมมีร่องน้ำไหลจากดอยหม่อนโป่งหินมาจนถึงบริเวณด้านขางวัดโบสถทางทิศตะวันตก ปัจจุบันชาวบ้านได้ถมร่องน้ำดังกล่าวเป็นถนนสัญจรไปสู่พื้นที่การเกษตร

 

 

 

 วัดโบสถ   

ภาพบริเวณโดยรอบโบสถ มีหินเสมาโบราณโดยรอบ

 

ภายในโบสถประดิษฐสถานพระพุทธรูป สามกษัตริย์  หินทรายศิลปพะเยา อายุราว 500 ปี 

    ปี 2559 ศรัทธาวัดแม่นาเรือได้ทำการบูรณะวัดโบสถใหม่ พร้อมทั้งมีการทำสีหุุ้มองค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์ไว้ 

 

 

 

ด้านฐานของพระทุทธรูปได้มีจารึก ชื่อของพระพุทธรูป เป็นอักษรฝักขาม

  

 พระพุทธรูปโบราณ (พระฝนแสนห่า)


 

                                                                                                       
 

จากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่แล้วทีมงาน อบต.แม่นาเรือ ได้ออกสำรวจโบราณสถาน เป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าบริเวณ ตำบลแม่นาเรือเป็นที่ชุมชนขนาดใหญ่ดังเดิมที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นสังเกตได้จากพื้นที่ในตำบลแม่นาเรือมีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และลำหวยหลายสายที่ไหลผ่าน และจากการที่มีวัดร้าง กระจัดกระจายในพื้นที่ตำบลแม่นาเรือเป็นจำนวนมาก และยังเห็นซากปรักหักพังที่ยังหลงเหลืออยู่5 แห่ง ได้แก่ 
1. วัดทุ่งเจดีย์ บริเวณ ทุ่งนาเรียกว่าทุ่งเจดีย์ หมู่ 5 ยังเห็นเป็นซากวัด เจดีย์ กำแพง ได้อย่างชัดเจน 
2. บริเวณหม่อนโป่งหินหมู่ 11 
3. บริเวณกลางทุ่งนาบ้านสันขี้เหล็ก หมู่ 1 
4. บริเวณทุ่งกู่ ทุ่งนาด้านหลังอบต.แม่นาเรือ ห่างจากวัดโบสถประมาณ 200 เมตร น่าจะเป็นบริเวณสถานที่เดียวกันกับที่พบ หลักศิลาจากรึกของพระยายอดเชียงรายที่กล่าวไว้ตั้งแต่ตอนต้น จึงแสดงว่าบริเวณนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของวัดนางหมื่นชื่อตามศิลาจารึก 
5. บริเวณทุ่งกู่บ้านโซ้ พบซากเจดีย์ และพระหินที่ชำรุดเสียหาย ปรากฏหลักฐาน เครื่องปันดินเผาที่แตกหักกระจัดกระจาย
โดยทั่ว สัญนิษฐานว่าจะเป็นเครื่องเคลือบสังคะโลกเก่าแก่ อันเป็นศิลปะของกรุงสุโขทัย แบบเดียวกับที่คนพบแหล่งเตาเผาโบราณ ที่ตำบลแม่กา

        

          เศษพระพุทธรูปหินและอิฐโบราณ

     เศษเครื่องปั้นดินเผา

                                

  เจดีย์เก่าที่วัดทุ่งเจดีย์

   จารึกวัดนางหมื่น

 

ศิลาจากรึกวัดนางหมื่นปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดพระเจ้าตนหลวง ส่วนข้อมูลจารึกขียนได้สืบค้นมาจากเว็บไซต์ฐานข้อมูล จากรึกในประเทศไทย  

ชื่อจารึก จารึกวัดนางหมื่น
อักษรที่มีในจารึก ฝักขาม
ศักราช พุทธศักราช  ๒๐๓๖
ภาษา ไทย
ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๓๔ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๒๐ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๑๔ บรรทัด
วัตถุจารึก หินทรายสีเทา
ลักษณะวัตถุ หลักสี่เหลี่ยมปลายมน
ขนาดวัตถุ กว้าง ๓๒ ซม. สูง ๑๕๖ ซม. หนา ๒๕ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "พย. ๖"
๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๔ (พฤศจิกายน ๒๕๑๖) กำหนดเป็น "ศิลาจารึกอักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย"
๓) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ กำหนดเป็น "พย. ๖ จารึกวัดนางหมื่น พ.ศ. ๒๐๓๖"
๔) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น "พย. ๖ จารึกพระเป็นเจ้าเมืองเชียงราย"
ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานที่พบ วัดร้าง ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
ปัจจุบันอยู่ที่ วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
พิมพ์เผยแพร่ ๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๔ (พฤศจิกายน ๒๕๑๖) : ๑๐๕ - ๑๑๐.
๒) จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, ๒๕๓๔), ๑๑๑ - ๑๑๓.
๓) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๓๘), ๑๓๔ - ๑๓๙.
เนื้อหาโดยสังเขป พ.ศ. ๒๐๓๖ เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าหมื่นจุลาพยาว และเจ้าพันพ่อน้อยได้ให้คนมาฝังจารึกไว้ที่วัดนางหมื่น เพื่อประกาศรายชื่อข้าพระที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลพระสงฆ์และวัด
ผู้สร้าง เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าหมื่นจุลาพยาว และเจ้าพันพ่อน้อย
การกำหนดอายุ ข้อความจารึกด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ ระบุ จ.ศ. ๘๕๕ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๐๓๖ อันเป็นสมัยที่พระเจ้ายอดเชียงรายปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๐๓๐ - ๒๐๓๘)
ข้อมูลอ้างอิง เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๙, จาก :
๑) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึกอักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย ได้มาจากบ้านแม่นาเรือ ต. แม่นาเรือ อ. พะเยา จ. เชียงราย,” ศิลปากร ๑๗, ๔ (พฤศจิกายน ๒๕๑๖) : ๑๐๕ - ๑๑๐.
๒) กรรณิการ์ วิมลเกษม, อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๖), ๑๐.
๓) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. ๖ จารึกวัดนางหมื่น พ.ศ. ๒๐๓๖,” ใน จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, ๒๕๓๔), ๑๑๑ - ๑๑๓.
๔) ประสาร บุญประคอง, “พย. ๖ จารึกพระเป็นเจ้าเมืองเชียงราย,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๓๘), ๑๓๔ - ๑๓๙.
ภาพประกอบ ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๕ (เลขทะเบียน CD; INS-TH-24, ไฟล์; PY 6 side 1+.copy 1 และ PY 6 side 2.copy 1)

 


คำแปลด้านที่ 1   คำแปลด้านที่ 2
 

 

พุทธศตวรรษที่ 22-23 พระเจ้าบุเรงนองขึ้นมาเป็นใหญ่ในหงสาวดี ได้แผ่ขยายอำนาจทั่วอาณาจักรล้านนาและกรุงศรีอยุธยา ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่เมืองพะเยาและพื้นที่ในบริเวณนี้ต่างพากันหนีสงครามทิ้งบ้านเรือนและวัดวาอารามจำนวนมากทำให้เมืองรกร้างไปพุทธศตวรรษที่ 24 รัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี มีบ้านเรือนอาศัยอยู่แถบเชิงเขาเป็นเชื้อสายชาวพะเยา มีอาชีพทำไร่ ทำสวน ทำนา ต่อมาได้มีชาวฝางเดินทางมาค้าขาย โดยใช้วัวเป็นพาหนะและไม่ได้กลับภูมิลำเนาเดิม ปักหลักฐานอาศัยอยู่กันเป็นหมู่บ้าน ต่อมาอีก 3 ปี ชาวเมืองลำปาง ชาวเมืองน่าน ชาวเมืองแพร่ อพยพมาอยู่ร่วมกัน เกิดเป็นหมู่บ้านใหญ่เรียกชื่อหมู่บ้านว่า"บ้านศรีเมืองชุม" โดยให้ชาวฝางเป็นผู้นำหมู่บ้าน และมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าทุกครั้งในช่วงฤดูน้ำหลากได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาด "เสียงคนร้องไห้โหยหวนต่อจากนั้นมีเรือผีร่องตามน้ำห้วยแม่นาเรือตามมา" สร้างความหวาดกลัวให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่สองฝั่งลำห้วยเป็นจำนวนมากพุทธศตวรรษที่ 25 บ้านศรีเมืองชุม ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "บ้านแม่นาเฮือ" สาเหตุเกิดจากสภาพของนา ที่เป็นนาร้างคนโบราณเรียกว่า นาเฮี้ย เมื่อพูดไปนานๆ ก็เพี้ยนเป็น นาเฮือ ประกอบกับชาวบ้านสันช้างหินได้ขึ้นมาตัดไม้เพื่อที่จะทำเป็นเรือใช้ในการประมง ต่อมามีผู้รู้ภาษาไทยขนานนามใหม่สอดคล้องกับพื้นที่หมู่บ้านที่มีแม่น้ำไหลผ่านใหม่ว่า "บ้านแม่นาเรือ" ต่อมาได้ขยายหมู่บ้านไปทำไร่ไถนา เลี้ยงสัตว์ เกิดเป็นหลายหมู่บ้านเช่น บ้านไร่ บ้านร่องคำ บ้านร่องคำหลวง บ้านโซ้ บ้านสันป่าสัก รวมกันหลายหมู่บ้านเรียกว่า "ตำบลแม่นาเรือ" จนถึงปัจจุบัน

nayokkae2565

 

ลิงค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

327264183 490336689925360 8534141733001796275 n copy

Discip2